เมนู

ลำดับนั้น พระองค์จงทรงมีพระดำริดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้
เราขับไล่เพราะอาหารเป็นเหตุ ธรรมเทศนาเรื่องคำข้าวที่ทำเป็นก้อน
เท่านั้นเป็นสัปปายะแก่ภิกษุเหล่านั้น เราแสดงธรรมเทศนาแล้วจัก
แสดงเทศนามีปริวัฏ 3 (3 รอบ) ในตอนท้ายเวลาจบเทศนา ภิกษุ
ทั้งหมดก็จักบรรลุอรหัตตผล.
ครันแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมเทศนานั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น
จึงตรัสคำว่า อนฺตมิทํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตํ ได้แก่ ต่ำช้า คือ เลวทราม.
บทว่า ยทิทํ ปิณโฑลฺยํ ความว่า ความเป็นอยู่ของบุคคล
ผู้เลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนั้นใด.

ความหมายของคำว่า ปิณโฑลยะ


ก็ในบทว่า ปิณฺโฑลฺยํ นี้มีความหมายเฉพาะบท ดังนี้ :- ภิกษุ
ชื่อว่า ปิณโฑละ เพราะหมายความว่า เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว การ
ทำงานของภิกษุผู้เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว ชื่อว่า ปิณโฑลยะ อธิบายว่า
ความเป็นอยู่ที่ให้สำเร็จด้วยการแสวงหาก้อนข้าว.
บทว่า อภิสาโป แปลว่า การด่า อธิบายว่า ผู้คนทั้งหลาย
โกรธแล้วย่อมด่าว่า ท่านห่มจีวรที่ไม่เข้ากับตัวแล้วถือกระเบื้องเที่ยว
แสวงหาก้อนข้าว. ก็หรือว่า ย่อมด่าแม้อย่างนี้ทีเดียวว่า ท่านไม่มีอะไร
จะทำหรือ? ท่านขนาดมีกำลังวังชาสมบูรณ์ด้วยวิริยะเห็นปานนี้ ยัง
ละทิ้งหิริโอตตัปปะถือบารตเที่ยวแสวงหาคำข้าวไม่ต่างอะไรกับคนกำพร้า
บทว่า ตญฺจ โข เอตํ ความว่า การเที่ยวแสวงหาก้อนข้าว
ทั้ง ๆ ที่ถูกแช่งด่านั้น.

บทว่า กุลปุตฺตา อุเปนฺติ อตฺถวสิกา อตฺถวสํ ปฏิจฺจ ความว่า
กุลบุตรโดยชาติ และกุลบุตรโดยอาจาระในศาสนาของเราเป็น
ผู้อยู่ในอำนาจแห่งผล อยู่ในอำนาจแห่งเหตุ คืออาศัยอำนาจแห่งผล
อำนาจแห่งเหตุจึงประกอบ (การเที่ยวแสวงหาคำข้าว).

อธิบายศัพท์ ราชาภินีตะ เป็นต้น


ในบทว่า ราชาภินีตา เป็นต้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
กุลบุตรเหล่าใด กินของพระราชาแล้วถูกจองจำในเรือนจำหลวง
(ต่อมา) หนีได้จึง (ไป) บวช กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า ราชาภินีตะ.
ก็กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า ราชาภินีตะ เพราะถูกนำไปเครื่องจองจำ
ของพระราชา.
ส่วนกุลบุตรเหล่าใด ถูกโจรจับได้ในป่าทึบ เมื่อบางพวกถูกโจร
นำไป บางพวกก็พูดว่า นาย เราทั้งหลายอันพวกท่านปล่อยแล้วก็
จักไม่อยู่ครองเรือนหรอก (แต่) จักบวช ในการบวชนั้น เราจักให้
ส่วนบุญแก่พวกท่านจากบุญมีการบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น ที่พวกเรา
จักทำ กุลบุตรเหล่านั้นอันโจรเหล่านั้นปล่อยแล้วจึง (ไป) บวช
กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า โจราภินีตะ.
ก็กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า โจราภินีตะ เพราะหมายความว่า
ถูกพวกโจรนำไปให้ถูกฆ่าตาย.
ส่วนกุลบุตรเหล่าใดติดหนี้แล้วไม่สามารถใช้คืนให้ได้จึงหนี
ไปบวช กุลบุตรเหล่านั้นชื่อว่า อิณัฏฏะ (ติดหนี้) หมายความว่า
ถูกหนี้บีบคั้น บาลีเป็น อิณฏฺฐา ก็มี หมายความว่า ตั้งอยู่ในหนี้ (ติดหนี้)